Home » » คนจนรับกรรม!!! แม่ด็อกเตอร์หนุ่มเผยข้อมูลคดี "แพรวา 9 ศพ" ยังไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียชีวิตเลยแม้แต่บาทเดียว โดยญาติผู้เสียชีวิตต้องยอมแพ้หลังจากต้องใช้เงินในการสู้คดีสูงจนไม่มีจ่าย!!!

คนจนรับกรรม!!! แม่ด็อกเตอร์หนุ่มเผยข้อมูลคดี "แพรวา 9 ศพ" ยังไม่ได้จ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียชีวิตเลยแม้แต่บาทเดียว โดยญาติผู้เสียชีวิตต้องยอมแพ้หลังจากต้องใช้เงินในการสู้คดีสูงจนไม่มีจ่าย!!!


กลายเป็นเรื่องราวที่ใครได้ฟังก็ต้องตะลึง หลังจากที่ศาลชั้นต้น สั่งให้จำเลย คือครอบครัว น.ส.แพรวา จ่ายให้กับญาติของเหยื่อ รวมกว่า 26 ล้านบาท ว่าคืบหน้าเพียงใด ซึ่งได้รับการเปิดเผยจาก นายวีระศักดิ์ ทัพขวา หัวหน้างานสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ หนึ่งในทีมทนายความ ที่ต่อสู้ให้กับผู้สูญเสีย เผยว่า "ตอนนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนในการอุทธรณ์ โดยฝ่ายเรายื่นอุทธรณ์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่ม 2 คน ส่วนผู้เสียหายรายอื่นๆ ไม่ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ โดยทั้ง 2 คดี ศาลมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์แล้ว"


"ในส่วนของจำเลย เขาก็มีสิทธิ์อุทธรณ์เช่นกัน ตอนนี้เขาเองได้ทำการยื่นขอขยายเวลาอุทธรณ์มาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกของการยื่น เขาไม่สามารถยื่นได้ทันในกรอบระยะเวลาที่ศาลให้ขยาย เขาก็เลยยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าจะครบกำหนดปลายเดือนนี้ สาเหตุที่ทราบเพราะเรามีเจ้าหน้าที่ไปตรวจสำนวน และสอบถามเจ้าหน้าที่ ส่วนเมื่อครบกำหนดแล้วจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับฝ่ายจำเลย"

ทีมทนายจากศูนย์นิติศาสตร์ มธ. กล่าวต่อว่า "คดีไหนไม่ยื่นอุทธรณ์ ถ้าจำเลยไม่อุทธรณ์ด้วย คดีนั้นก็จะถึงที่สุด หากจำเลยยื่นอุทธรณ์ทุกคดี คดีก็จะไม่ถึงที่สุด ส่วนจำเลยจะอุทธรณ์หรือไม่ก็ต้องรอวันขยายยื่นเรื่องอุทธรณ์ก่อน ส่วนเหตุผลการยื่นขยายเวลาอุทธรณ์นั้น ตามข้อปฏิบัติ ก็จะเป็นไปได้หลายกรณี เช่น มีคดีหลายคดี มีประเด็นที่จะต้องอุทธรณ์หลายประเด็น หรือมีเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ส่วนอีกเหตุผล ยื่นขอคัดถ่ายคำพิพากษาไว้ แล้วยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา ซึ่งเหตุผลต่างๆ เหล่านี้อาจจะเป็นเหตุผลในการขอขยายเวลาอุทธรณ์ ซึ่งศาลอาจจะพิจารณารับเรื่องไว้ได้"


ในประเด็นญาติเหยื่อไม่ยื่นอุทธรณ์นั้น นายวีระศักดิ์ ยอมรับว่ามีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ประกอบด้วยหลายแง่มุม แต่จากที่ได้คุยกับลูกความทราบว่า
1. ยื่นอุทธรณ์แล้วก็ไม่แน่ว่าศาลอุทธรณ์จะคิดค่าเสียหายเพิ่มให้ 2. การยื่นอุทธรณ์ เรื่องจะอยู่ในชั้นศาลนานเป็นปี บางคดียาวนานถึง 2 ปี 3. บางคนมีเหตุผลส่วนตัว อยากให้คดีจบไป เพราะเจ็บปวดมากพอแล้ว 4. ไม่ว่าผลอุทธรณ์จะเป็นเช่นไร ก็ส่งผลต่อระยะเวลาบังคับคดีให้ยาวนานขึ้นอีก 5. เหตุผลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะการอุทธรณ์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ปกติ หากฟ้องร้องเกิน 300,000 จะคิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 แต่ไม่ว่าจะฟ้องกี่สิบล้าน ค่าธรรมเนียมสูงสุด ก็ไม่เกิน 200,000 บาท

"การฟ้องร้องในลักษณะแบบนี้ ผู้เสียหายบางรายไม่มีเงินมาเสียค่าธรรมเนียม ถึงแม้ในทางปฏิบัติจะสามารถของดเว้นค่าธรรมเนียมได้ แต่ใช่ว่าศาลจะงดเว้นให้ทุกกรณี ซึ่งท่านจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ตามกฎหมายหรือไม่ เช่น ผู้ร้องไม่มีเงินเสียค่าธรรมเนียมศาล ซึ่งหากเทียบกับความคุ้มค่าแล้ว ก็ไม่แน่ว่ายื่นอุทธรณ์แล้วจะได้เพิ่ม แล้วต้องมาเสียค่าธรรมเนียมอีก ซึ่งนี่คือหลักเหตุผลว่าทำไมญาติของผู้เสียหายถึงไม่ยื่นอุทธรณ์"

โดยที่นางถวิล เช้าเที่ยง หรือ ป้าหนิง มารดาของ ดร.เป็ด ศาสตรา เช้าเที่ยง 1 ใน 9 ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุวันนั้น ซึ่ง ป้าหนิง กล่าวถึงข่าวที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ว่า "การที่เขาจะทำผิดเงื่อนไข การบริการสังคมหรือไม่นั้น ป้าเองก็ไม่รู้สึกอะไร ก็คงแล้วแต่เขา ไม่ได้รู้สึกดีใจหรือเสียใจ เพราะว่ามันนานแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เขาทำตัวเขาเอง เราไม่ได้เป็นคนทำอะไรให้ ก็อยากจะให้ศาลเป็นผู้จัดการต่อไป ฉันเองก็คงทำอะไรไม่ได้"

นางถวิล กล่าวต่อว่า เรื่องเงินที่จะต้องชดใช้นั้น ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับ ในส่วนของฉันเอง เป็นเงิน 1.5 ล้านบาท ที่ผ่านมา เขาก็ไม่เคยคุยกับฉัน ศาลตัดสินแล้วเขาก็ยังไม่คุย ที่จริงแล้วเขาเองก็สามารถติดต่อกับกลุ่มอาจารย์ (อาจารย์ธรรมศาสตร์ ทีมทนาย) จะเรียกเท่าไร จะให้ลดเท่าไร เขาก็ไม่เคยคุย เงินที่จะให้ก็ไม่ใช่เงินเยอะอะไร ลูกฉันเป็นถึงดอกเตอร์เพิ่งเรียนจบมา ส่วนคนอื่นก็คงยังไม่ได้ คงต้องเป็นไปตามกระบวนการของศาล ป้าหนิง ไม่มีสิทธิ์ไปทำอะไร แต่ตัวเขาน่าจะอุทธรณ์ ในวันที่ 25 มี.ค.ที่จะถึงนี้ ขณะที่ฝ่ายญาติของเหยื่อ ทราบว่ามี 2 ราย จะขออุทธรณ์เช่นกัน ตอนนี้ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากรอกระบวนการของศาลก็เพียงเท่านั้น

ขณะเดียวกัน มีผู้เสียหายรายหนึ่งในคดีรถตู้ 9 ศพ ออกรายการ "ข่าวดังข้ามเวลา" ออกอากาศเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า ใจจริงก็อยากจะอุทธรณ์สู้คดีต่อ แต่ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาอุทธรณ์ เพราะต้องวางเงินต่อศาล 5 หมื่น ซึ่งเป็นจุดที่เราไม่ได้อุทธรณ์